ไทยจัดอีเวนต์โลกดันขึ้นแท่นบิวตี้ฮับ บูมเครื่องสำอางธรรมชาติโตแสนล.
ไทยยึดอีเวนต์โลก จัดงาน IFSCC ดันไทยขึ้นผู้นำ "บิวตี้แอนด์เวลเนสฮับ" เอเชีย ขานรับตลาดบูมยอดขายพุ่งปีละ 115,000 ล้าน
กลุ่มทุนแห่เปิดโรงงานกว่า 760 แห่ง บูมใช้พืชเกษตรเป็นสารสกัดเคมีเครื่องสำอางป้อนตลาดโลก
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเจอรัล โปรดักส์ จำกัด
ผู้วิจัยพัฒนาและผลิตสารสกัดจากพฤกษชาติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และนายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จัดงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ (International Federation of the Societies of Cosmetic Chemists : IFSCC) ครั้งแรกในรอบ 52 ปี เตรียมจัดระหว่าง 31 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2554 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้ประกอบการและนักวิจัยเข้าร่วมจาก 58 ประเทศ และผู้เข้าประชุมกว่า 1,000 คน เป็นกลุ่มสมาคมนักเคมีเครื่องสำอาง นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักธุรกิจในอุตสาหกรรม มีผู้จัดแสดง 150 บูท เป็นกลุ่มสมุนไพร คลินิก โรงพยาบาล เข้าชมบูทนิทรรศการการแสดงงานอีกไม่ต่ำกว่า 3,000 คนจึงวางแผนใช้งานนี้แสดงพลังและผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมความงามและสุขภาพแห่งเอเชีย หรือ Beauty & Wellness Hub of Asia ในฐานะประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบพืชเกษตร สมุนไพร พฤกษชาติของโลก ซึ่งใช้วัตถุดิบพืชเกษตรเป็นสารสกัดเคมีผลิตเครื่องสำอางจากธรรมชาติเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในตลาดโลก และไทยมีศักยภาพสูงมากเนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรวมของประเทศเป็นแหล่งเพาะปลูก ปัจจุบันผลิตสินค้าพืชเกษตรวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางของไทยทำรายได้สูงถึง 115,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกไปต่างประเทศ 65,000 ล้านบาท จำหน่ายภายในประเทศ 50,000 ล้านบาท
แนวโน้มยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเติบโตปี 2554 เฉลี่ย 25-40% จึงเป็นโอกาสอันดีของไทยเมื่อได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน IFSCC นอกจากจะสร้างแรงจูงใจให้นักเคมี นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจในอุตสาหกรรม สนับสนุนเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ความงามแล้ว ยังขยายผลการพัฒนาตลาดพืชเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางเติบโตตามขึ้นไปด้วยไม่ต่ำกว่า 20% สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าขายได้ราคาสูงกว่าปกติมากขึ้น 10-1,000 เท่า เช่น น้ำมันรำข้าว เมื่อขายเป็นสารสกัดจะมีมูลค่าถึง 30,000 บาท/กิโลกรัมส่วนพืชเกษตรที่ได้รับความนิยมนำไปผลิตเป็นสารสกัดเคมีเครื่องสำอาง ปัจจุบันมีหัวหอม กวาวเครือขาว-แดง มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พริก เมล็ดองุ่น กระชายดำ มะรุม ทับทิม มังคุด น้ำมันรำข้าว กระเทียม อนาคตพืชที่ตลาดจะมีความต้องการสูง ได้แก่ โปรตีนจากรังไหม
เปลือกมังคุด เมล็ดลำไย ข้าว คอลลาเจนจากเกล็ดปลา และอื่น ๆ เพราะเทรนด์การใช้เครื่องสำอางช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้เน้นผลิตภัณฑ์ เพื่อผิวขาว คุมน้ำหนัก เช่น ไวเทนนิ่ง และเน้นสุขภาพ คอลลาเจนชะลอวัย (anti aging) อาหารเสริมช่วยรักษาโรคเลือด ความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะน้ำมันรำข้าว ดร.พรรณวิภากล่าวว่า ขณะนี้มีนักลงทุนคนไทยและชาวต่างชาติสนใจเปิดโรงงานในประเทศไทยมีรวมกว่า 760 แห่ง นำพืชเกษตรมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เคมีเครื่องสำอาง รวมทั้งใช้โรงงานเหล่านี้ผลิตสินค้าให้เครื่องสำอางแบรนด์เนมหลายยี่ห้อ เช่น บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์
เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ผลิตให้แคล์รอล ชวาร์สคอฟ ลอรีอัล และอีกหลายโรงงานผลิตให้ แบรนด์ดัง ๆ อย่างพีแอนด์จีไลอ้อน คาโอฯ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และเครือยูนิลีเวอร์ และสหพัฒน์ บีเอสซี โอเรียนทอล พริ้นเซสส่วนกลยุทธ์การนำพืชเกษตรมาสกัดนั้น โรงงานส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้เกิด 3 E คือ Effective-มีประสิทธิภาพ ซึ่งพิสูจน์ได้ โดยวิทยาศาสตร์ Economic-ขายในราคาเป็นเหตุผลนำรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ Ecologic-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม "ไทยเป็นฐานการ
ผลิตแบรนด์เคมีเครื่องสำอางจากพืชเกษตร สมุนไพร พฤกษชาติ แบรนด์ดังและขายตรงทั่วโลก เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสำคัญอันดับต้น ๆ
ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากกลุ่มนักลงทุนก่อตั้งโรงงานกว่า 760 แห่ง มีบุคลากรวิจัย เครื่องมือทางเทคโนโลยี บริการวิเคราะห์พัฒนาการผลิตเครื่องสำอาง พร้อมให้บริการวิเคราะห์สูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาตรฐานของส่วนผสมโดยคัดเลือกวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลิตได้ตามข้อกำหนด
GMP : Good Manufacturing Practice ซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชีย ที่มีมาตรฐาน GMP และควบคุมการผลิตตามมาตรฐาน HACCP : Hazard Analysis and Critical Control Points อย่างสม่ำเสมอ"
ดร.พรรณวิภากล่าว
สำหรับการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เคมีเครื่องสำอางของไทยที่ใช้สารสกัดจากพืชเกษตรธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของตลาดหลักได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ส่วนญี่ปุ่นเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ไทยส่งออก สมุนไพรปีละเกือบ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ เครื่องดื่มและอาหาร 50,000 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการอาบน้ำ 35,000 ล้านบาท เครื่องหมอและสีเมกอัพ 31,000 ล้านบาทสินค้าใช้ในครัวเรือน 3,900 ล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจ 31 มี.ค. 2554
ขอบคุณที่มา เว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ไทยยึดอีเวนต์โลก จัดงาน IFSCC ดันไทยขึ้นผู้นำ "บิวตี้แอนด์เวลเนสฮับ" เอเชีย ขานรับตลาดบูมยอดขายพุ่งปีละ 115,000 ล้าน
กลุ่มทุนแห่เปิดโรงงานกว่า 760 แห่ง บูมใช้พืชเกษตรเป็นสารสกัดเคมีเครื่องสำอางป้อนตลาดโลก
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเจอรัล โปรดักส์ จำกัด
ผู้วิจัยพัฒนาและผลิตสารสกัดจากพฤกษชาติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และนายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จัดงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ (International Federation of the Societies of Cosmetic Chemists : IFSCC) ครั้งแรกในรอบ 52 ปี เตรียมจัดระหว่าง 31 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2554 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้ประกอบการและนักวิจัยเข้าร่วมจาก 58 ประเทศ และผู้เข้าประชุมกว่า 1,000 คน เป็นกลุ่มสมาคมนักเคมีเครื่องสำอาง นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักธุรกิจในอุตสาหกรรม มีผู้จัดแสดง 150 บูท เป็นกลุ่มสมุนไพร คลินิก โรงพยาบาล เข้าชมบูทนิทรรศการการแสดงงานอีกไม่ต่ำกว่า 3,000 คนจึงวางแผนใช้งานนี้แสดงพลังและผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมความงามและสุขภาพแห่งเอเชีย หรือ Beauty & Wellness Hub of Asia ในฐานะประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบพืชเกษตร สมุนไพร พฤกษชาติของโลก ซึ่งใช้วัตถุดิบพืชเกษตรเป็นสารสกัดเคมีผลิตเครื่องสำอางจากธรรมชาติเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในตลาดโลก และไทยมีศักยภาพสูงมากเนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรวมของประเทศเป็นแหล่งเพาะปลูก ปัจจุบันผลิตสินค้าพืชเกษตรวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางของไทยทำรายได้สูงถึง 115,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกไปต่างประเทศ 65,000 ล้านบาท จำหน่ายภายในประเทศ 50,000 ล้านบาท
แนวโน้มยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเติบโตปี 2554 เฉลี่ย 25-40% จึงเป็นโอกาสอันดีของไทยเมื่อได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน IFSCC นอกจากจะสร้างแรงจูงใจให้นักเคมี นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจในอุตสาหกรรม สนับสนุนเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ความงามแล้ว ยังขยายผลการพัฒนาตลาดพืชเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางเติบโตตามขึ้นไปด้วยไม่ต่ำกว่า 20% สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าขายได้ราคาสูงกว่าปกติมากขึ้น 10-1,000 เท่า เช่น น้ำมันรำข้าว เมื่อขายเป็นสารสกัดจะมีมูลค่าถึง 30,000 บาท/กิโลกรัมส่วนพืชเกษตรที่ได้รับความนิยมนำไปผลิตเป็นสารสกัดเคมีเครื่องสำอาง ปัจจุบันมีหัวหอม กวาวเครือขาว-แดง มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พริก เมล็ดองุ่น กระชายดำ มะรุม ทับทิม มังคุด น้ำมันรำข้าว กระเทียม อนาคตพืชที่ตลาดจะมีความต้องการสูง ได้แก่ โปรตีนจากรังไหม
เปลือกมังคุด เมล็ดลำไย ข้าว คอลลาเจนจากเกล็ดปลา และอื่น ๆ เพราะเทรนด์การใช้เครื่องสำอางช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้เน้นผลิตภัณฑ์ เพื่อผิวขาว คุมน้ำหนัก เช่น ไวเทนนิ่ง และเน้นสุขภาพ คอลลาเจนชะลอวัย (anti aging) อาหารเสริมช่วยรักษาโรคเลือด ความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะน้ำมันรำข้าว ดร.พรรณวิภากล่าวว่า ขณะนี้มีนักลงทุนคนไทยและชาวต่างชาติสนใจเปิดโรงงานในประเทศไทยมีรวมกว่า 760 แห่ง นำพืชเกษตรมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เคมีเครื่องสำอาง รวมทั้งใช้โรงงานเหล่านี้ผลิตสินค้าให้เครื่องสำอางแบรนด์เนมหลายยี่ห้อ เช่น บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์
เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ผลิตให้แคล์รอล ชวาร์สคอฟ ลอรีอัล และอีกหลายโรงงานผลิตให้ แบรนด์ดัง ๆ อย่างพีแอนด์จีไลอ้อน คาโอฯ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และเครือยูนิลีเวอร์ และสหพัฒน์ บีเอสซี โอเรียนทอล พริ้นเซสส่วนกลยุทธ์การนำพืชเกษตรมาสกัดนั้น โรงงานส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้เกิด 3 E คือ Effective-มีประสิทธิภาพ ซึ่งพิสูจน์ได้ โดยวิทยาศาสตร์ Economic-ขายในราคาเป็นเหตุผลนำรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ Ecologic-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม "ไทยเป็นฐานการ
ผลิตแบรนด์เคมีเครื่องสำอางจากพืชเกษตร สมุนไพร พฤกษชาติ แบรนด์ดังและขายตรงทั่วโลก เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสำคัญอันดับต้น ๆ
ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากกลุ่มนักลงทุนก่อตั้งโรงงานกว่า 760 แห่ง มีบุคลากรวิจัย เครื่องมือทางเทคโนโลยี บริการวิเคราะห์พัฒนาการผลิตเครื่องสำอาง พร้อมให้บริการวิเคราะห์สูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาตรฐานของส่วนผสมโดยคัดเลือกวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ผลิตได้ตามข้อกำหนด
GMP : Good Manufacturing Practice ซึ่งเป็นประเทศเดียวในเอเชีย ที่มีมาตรฐาน GMP และควบคุมการผลิตตามมาตรฐาน HACCP : Hazard Analysis and Critical Control Points อย่างสม่ำเสมอ"
ดร.พรรณวิภากล่าว
สำหรับการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์เคมีเครื่องสำอางของไทยที่ใช้สารสกัดจากพืชเกษตรธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของตลาดหลักได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ส่วนญี่ปุ่นเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่ไทยส่งออก สมุนไพรปีละเกือบ 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ เครื่องดื่มและอาหาร 50,000 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการอาบน้ำ 35,000 ล้านบาท เครื่องหมอและสีเมกอัพ 31,000 ล้านบาทสินค้าใช้ในครัวเรือน 3,900 ล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจ 31 มี.ค. 2554
ขอบคุณที่มา เว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น