31 ตค.- 2 พย.นี้ ไทยเป็นเจ้าภาพงานประชุมเครื่องสำอางโลก IFSCC 2011 พร้อมก้าวเป็นบิวตี้ ฮับแห่งเอเชียกรุงเทพฯ--12 เม.ย.--แบรนด์เอเชีย คอมมิวนิเคชั่น รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทยเผยธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีเครื่องสำอางพุ่งโลดบนฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จากการที่ประเทศไทย
เป็นฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อสุขภาพความ งามและส่งออกวัตถุดิบจากพืชผัก พฤกษชาติ และสมุนไพร
สำหรับป้อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และอาหารเสริม มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 115,000 ล้านบาท ชี้ศักยภาพของประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นบิวตี้ฮับแห่งเอเซีย (Beauty & Wellness Hub of Asia) ช่วงปลายปี 31 ตค. – 2 พย.2554นี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก หรือ IFSCC 2011 ที่โรงแรมเซ็นทารา แอท เซ็นทรัลเวิล์ด คาดว่ามีผู้เข้าประชุมทั้งผู้ประกอบการและนักวิจัยจาก 58 ประเทศทั่วโลก เชิญชวนผู้ประกอบการในประเทศไทยร่วมจองบูธนิทรรศการ เพื่อโอกาสขยายธุรกิจการค้าและแสดงศักยภาพของประเทศไทยบนเวทีโลก
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ในฐานะประธานจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก และ นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงตลาดเครื่องสำอาง และวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอาง ว่า “เครื่องสำอางในยุคปัจจุบันก้าวหน้าไปไกล ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทั้งแชมพู สเปรย์ เจลใส่ผม ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ครีมล้างหน้า สกินแคร์ ครีมบำรุงหน้า บอดี้ครีม รวมไปถึงอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงามสำหรับทุกเพศทุกวัย เครื่องสำอางในปัจจุบัน จึงมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันควบคู่ไปกับช่วยเสริมสร้างสุขภาพและ บุคลิกภาพความงามของคนทุกเพศทุกวัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและสุขภาพ มีการวิจัยพัฒนารูปแบบ คุณสมบัติและจุดเด่นที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละกลุ่มเป้าหมายออกมา ให้เลือกใช้อย่างมากมายในตลาด และกระแสความนิยมในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เหล่านี้ทำให้ตลาดเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพ และความงามมีขนาดใหญ่และเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ มูลค่าตลาดรวมเครื่องสำอางและส่งออกวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางจากสารสกัดจาก ธรรมชาติ พืชผัก พฤกษชาติ สมุนไพรของประเทศไทย ปี 2011ประมาณ 115,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นตลาดเครื่องสำอางในประเทศ 50,000 ล้านบาท และตลาดวัตถุดิบเคมีเครื่องสำอางจากพืชผัก พฤกษชาติ สมุนไพรในประเทศและส่งออกปีละกว่า 65,000 ล้านบาท นับเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญของแบรนด์ดังและตลาดขายตรง ที่ส่งป้อนเพื่อขายในประเทศและภูมิภาคโลกด้วย ปัจจุบันวัตถุดิบ มี 2 ประเภท คือ เคมีสังเคราะห์ และ เคมีธรรมชาติ เทรนด์ทั่วโลกขณะนี้หันมาใช้เคมีธรรมชาติเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้การส่งออกวัตถุดิบเคมีพืชผัก สมุนไพรจากไทยเติบโตรวดเร็ว นับตั้งแต่ให้บริการวิเคราะห์วิจัยสูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ทำค่ามาตรฐานของส่วนผสม จัดหาวัตถุดิบพืชผักพฤกษชาติสมุนไพร กระบวนการสกัดวัตถุดิบที่บริสุทธิ์ปลอดเชื้อ และให้มีโครงสร้างทางวิทยาศาสตร์และคุณสมบัติตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด รวมทั้งการผลิตสินค้าสำเร็จรูปและการส่งออกไปยังลูกค้า ตลาดใหญ่ คือ ประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่เป็นอันดับต้นจาก 10 ประเทศ วัตถุดิบจากพืชผักสมุนไพรที่ตลาดต้องการนำไปเป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง ได้แก่ หัวหอม กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พริก เมล็ดองุ่น กระชายดำ มะรุม ทับทิม มังคุด น้ำมันรำข้าว กระเทียม ส่วนพืชสมุนไพรที่มีแนวโน้มความต้องการในอนาคต ได้แก่ โปรตีนจากรังไหม เปลือกมังคุด เมล็ดลำไย ข้าว คอลลาเจนจากเกล็ดปลา ฯลฯ ในด้านแนวโน้มเทรนด์เครื่องสำอางในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวและควบคุมน้ำหนัก เช่น ไวเทนนิ่ง ส่วนเทรนด์ในปีนี้จะเน้นสุขภาพมากขึ้น คอลลาเจน และแอนตี้ เอจจิ้ง (Anti Aging) หรือการบำรุงชะลอวัย และผลิตภัณฑ์ที่รับประทานเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารเสริมช่วยรักษาโรคเลือด ความดันโลหิตสูง น้ำมันรำข้าว
อัตราการเติบโตตลาดรวมเครื่องสำอางและเคมีวัตถุดิบพืชผักสมุนไพรของไทย ปี 2010 เติบโตที่ 25% และคาดการณ์ว่า ปี 2011 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 30% , ส่วนตลาดส่งออกปี 2010เติบโต 36% คาดการณ์ว่า ปี 2011 จะเติบโตมากขึ้นกว่า 35- 40%
นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ศักยภาพของประเทศไทยในตลาดการค้าอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ว่า “ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวเป็น บิวตี้ฮับแห่งเอเซีย (Beauty & Wellness Hub of Asia) เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์สภาพภูมิอากาศร้อนชื้น และภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ของป่าเบญจพรรณ จึงเป็นกำเนิดพืชผักและสมุนไพรหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ ประกอบกับโลกหันมาให้ความสำคัญกับสารธรรมชาติและสมุนไพรในฐานะยาบำบัดมาก ขึ้น มีโรงงานผลิตกว่า 760 แห่งที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการผลิต ความรู้ความสามารถของบุคลากรวิจัย อีกทั้ง การเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม และการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านของเทคโนโลยีเครื่องสำอาง การวิจัยและบริการแบบวิเคราะห์ทดสอบนับเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางและการแปรรูปวัตถุดิบให้มีคุณภาพด้วยมาตรฐานสากล เนื่องด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์แปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย หากทำโดยขาดมาตรฐานการผลิตตามข้อกำหนด GMP(Good Manufacturing Practice และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติไม่สม่ำเสมอ และไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ ”
รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ กล่าวว่า “ในวันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2554 ประเทศไทย โดยสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก หรืองานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ IFSCC 2011 เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด 3E คือ Effective, Economic, Ecological ซึ่งสื่อถึงเครื่องสำอางที่มีประสิทธิภาพซึ่งพิสูจน์ได้โดยวิธีทางวิทยา ศาสตร์ , ราคาคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, กรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีการวิจัยเครื่อง สำอางตลอดจนแสดงศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลกและการเป็นบิวตี้ฮับแห่งเอเซีย ( Beauty Hub & Wellness of Asia) ผู้เข้าประชุมกว่า 1,000 คนจาก 58 ประเทศ เป็นนักธุรกิจผู้ประกอบการ นักการตลาดเครื่องสำอางและสุขภาพความงามชั้นนำของโลก นักวิทยาศาสตร์ นักเคมีวิจัยและมืออาชีพ
ในงานนี้มี ไฮไลท์ของงาน IFSCC 2011 คือ การนำเสนอเทรนด์และนวัตกรรมจากงานวิจัยเครื่องสำอางล่าสุดของโลก การจัดเวิร์คช้อปให้คำแนะนำวิธีการและขั้นตอนการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทาง ปัญญา และบริเวณหน้างานเปิดเป็นบูธแสดงนิทรรศการเครื่องสำอางโลก Beauty Week และกิจกรรมที่น่าสนใจ ขณะนี้เปิดให้ผู้ประกอบการเครื่องสำอางและนวัตกรรมสุขภาพความงามในประเทศไทย จองล่วงหน้าจำนวนกว่า 150 บูธ ตั้งแต่วันนี้ - 30มิถุนายน 2554 ผู้สนใจติดต่อ โทร.02 -937-4377 , 089- 889-1002 หรือ rojana@ifscc2011.com
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุม IFSCC 2011 เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้นวัตกรรมและเทรนด์เครื่องสำอางโลก และโอกาสทางธุรกิจการค้าเครื่องสำอางและวัตถุดิบ ชูศักยภาพของประเทศไทยให้โดดเด่นในการก้าวเป็น Beauty & Wellness Hub บนเวทีโลก ประสานความร่วมมือระหว่างไทยกับนานาประเทศในด้านวิชาการ, ส่งเสริมการพบปะและเจรจาการค้าระหว่าง 58 ประเทศ, นำรายได้เงินตราจากการใช้จ่ายในการประชุมและท่องเที่ยวเข้าประเทศ พร้อมเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยในด้านการค้าอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ตลอดจนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและจุดหมายของการจัดประชุมแก่ผู้มา ประชุมจากทั่วโลก
ญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นประเทศเอเชียในอันดับต้นๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสส่งออกสารสกัดพืชธรรมชาติและสมุนไพร ตลาดพืชพันธุ์สมุนไพรในญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมทั้งประเทศกว่า 1 แสนล้านบาทหรือ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจด้านสุขภาพมากขึ้นเห็นได้จากแนวโน้มการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวและเครื่องสำอางต่างๆ หันมามีส่วนประกอบของสมุนไพรมากขึ้นและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มประเทศยุโรปจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตพืชพันธุ์และสมุนไพรใหญ่เป็น อันดับสองของโลกรองจากจีน มีการปลูกและบริโภคสมุนไพรไม่น้อยกว่า 600 ชนิด และเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านกระบวนการแปรรูปและสกัดสมุนไพรจน เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก เยอรมันจัดเป็นประเทศที่นำเอาสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบเพื่อการรักษาและบำบัด โรคพื้นฐานถึงร้อยละ 40 ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสจัดเป็นประเทศที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารเสริมโดยมีส่วนประกอบของสมุนไพรมายาวนานและหลากหลายที่สุด
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป วันอังคารที่ ๑๒ เมษายน
ขอบคุณที่มา http://www.newswit.com/
เป็นฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อสุขภาพความ งามและส่งออกวัตถุดิบจากพืชผัก พฤกษชาติ และสมุนไพร
สำหรับป้อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และอาหารเสริม มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 115,000 ล้านบาท ชี้ศักยภาพของประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นบิวตี้ฮับแห่งเอเซีย (Beauty & Wellness Hub of Asia) ช่วงปลายปี 31 ตค. – 2 พย.2554นี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเครื่องสำอางโลก หรือ IFSCC 2011 ที่โรงแรมเซ็นทารา แอท เซ็นทรัลเวิล์ด คาดว่ามีผู้เข้าประชุมทั้งผู้ประกอบการและนักวิจัยจาก 58 ประเทศทั่วโลก เชิญชวนผู้ประกอบการในประเทศไทยร่วมจองบูธนิทรรศการ เพื่อโอกาสขยายธุรกิจการค้าและแสดงศักยภาพของประเทศไทยบนเวทีโลก
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องสำอางที่สำคัญของแบรนด์ดังและตลาดขายตรง ที่ส่งป้อนเพื่อขายในประเทศและภูมิภาคโลกด้วย ปัจจุบันวัตถุดิบ มี 2 ประเภท คือ เคมีสังเคราะห์ และ เคมีธรรมชาติ เทรนด์ทั่วโลกขณะนี้หันมาใช้เคมีธรรมชาติเพิ่มสูงมากขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้การส่งออกวัตถุดิบเคมีพืชผัก สมุนไพรจากไทยเติบโตรวดเร็ว นับตั้งแต่ให้บริการวิเคราะห์วิจัยสูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ทำค่ามาตรฐานของส่วนผสม จัดหาวัตถุดิบพืชผักพฤกษชาติสมุนไพร กระบวนการสกัดวัตถุดิบที่บริสุทธิ์ปลอดเชื้อ และให้มีโครงสร้างทางวิทยาศาสตร์และคุณสมบัติตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด รวมทั้งการผลิตสินค้าสำเร็จรูปและการส่งออกไปยังลูกค้า ตลาดใหญ่ คือ ประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่เป็นอันดับต้นจาก 10 ประเทศ วัตถุดิบจากพืชผักสมุนไพรที่ตลาดต้องการนำไปเป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง ได้แก่ หัวหอม กวาวเครือขาว กวาวเครือแดง มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พริก เมล็ดองุ่น กระชายดำ มะรุม ทับทิม มังคุด น้ำมันรำข้าว กระเทียม ส่วนพืชสมุนไพรที่มีแนวโน้มความต้องการในอนาคต ได้แก่ โปรตีนจากรังไหม เปลือกมังคุด เมล็ดลำไย ข้าว คอลลาเจนจากเกล็ดปลา ฯลฯ ในด้านแนวโน้มเทรนด์เครื่องสำอางในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวและควบคุมน้ำหนัก เช่น ไวเทนนิ่ง ส่วนเทรนด์ในปีนี้จะเน้นสุขภาพมากขึ้น คอลลาเจน และแอนตี้ เอจจิ้ง (Anti Aging) หรือการบำรุงชะลอวัย และผลิตภัณฑ์ที่รับประทานเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารเสริมช่วยรักษาโรคเลือด ความดันโลหิตสูง น้ำมันรำข้าว
อัตราการเติบโตตลาดรวมเครื่องสำอางและเคมีวัตถุดิบพืชผักสมุนไพรของไทย ปี 2010 เติบโตที่ 25% และคาดการณ์ว่า ปี 2011 จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 30% , ส่วนตลาดส่งออกปี 2010เติบโต 36% คาดการณ์ว่า ปี 2011 จะเติบโตมากขึ้นกว่า 35- 40%
นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ศักยภาพของประเทศไทยในตลาดการค้าอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ว่า “ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวเป็น บิวตี้ฮับแห่งเอเซีย (Beauty & Wellness Hub of Asia) เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์สภาพภูมิอากาศร้อนชื้น และภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ของป่าเบญจพรรณ จึงเป็นกำเนิดพืชผักและสมุนไพรหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ ประกอบกับโลกหันมาให้ความสำคัญกับสารธรรมชาติและสมุนไพรในฐานะยาบำบัดมาก ขึ้น มีโรงงานผลิตกว่า 760 แห่งที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการผลิต ความรู้ความสามารถของบุคลากรวิจัย อีกทั้ง การเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม และการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านของเทคโนโลยีเครื่องสำอาง การวิจัยและบริการแบบวิเคราะห์ทดสอบนับเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางและการแปรรูปวัตถุดิบให้มีคุณภาพด้วยมาตรฐานสากล เนื่องด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์แปรรูปด้วยเทคโนโลยีทันสมัย หากทำโดยขาดมาตรฐานการผลิตตามข้อกำหนด GMP(Good Manufacturing Practice และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติไม่สม่ำเสมอ และไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ ”
ในงานนี้มี ไฮไลท์ของงาน IFSCC 2011 คือ การนำเสนอเทรนด์และนวัตกรรมจากงานวิจัยเครื่องสำอางล่าสุดของโลก การจัดเวิร์คช้อปให้คำแนะนำวิธีการและขั้นตอนการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทาง ปัญญา และบริเวณหน้างานเปิดเป็นบูธแสดงนิทรรศการเครื่องสำอางโลก Beauty Week และกิจกรรมที่น่าสนใจ ขณะนี้เปิดให้ผู้ประกอบการเครื่องสำอางและนวัตกรรมสุขภาพความงามในประเทศไทย จองล่วงหน้าจำนวนกว่า 150 บูธ ตั้งแต่วันนี้ - 30มิถุนายน 2554 ผู้สนใจติดต่อ โทร.02 -937-4377 , 089- 889-1002 หรือ rojana@ifscc2011.com
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุม IFSCC 2011 เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้นวัตกรรมและเทรนด์เครื่องสำอางโลก และโอกาสทางธุรกิจการค้าเครื่องสำอางและวัตถุดิบ ชูศักยภาพของประเทศไทยให้โดดเด่นในการก้าวเป็น Beauty & Wellness Hub บนเวทีโลก ประสานความร่วมมือระหว่างไทยกับนานาประเทศในด้านวิชาการ, ส่งเสริมการพบปะและเจรจาการค้าระหว่าง 58 ประเทศ, นำรายได้เงินตราจากการใช้จ่ายในการประชุมและท่องเที่ยวเข้าประเทศ พร้อมเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยในด้านการค้าอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ตลอดจนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและจุดหมายของการจัดประชุมแก่ผู้มา ประชุมจากทั่วโลก
ญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นประเทศเอเชียในอันดับต้นๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสส่งออกสารสกัดพืชธรรมชาติและสมุนไพร ตลาดพืชพันธุ์สมุนไพรในญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมทั้งประเทศกว่า 1 แสนล้านบาทหรือ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจด้านสุขภาพมากขึ้นเห็นได้จากแนวโน้มการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวและเครื่องสำอางต่างๆ หันมามีส่วนประกอบของสมุนไพรมากขึ้นและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มประเทศยุโรปจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตพืชพันธุ์และสมุนไพรใหญ่เป็น อันดับสองของโลกรองจากจีน มีการปลูกและบริโภคสมุนไพรไม่น้อยกว่า 600 ชนิด และเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านกระบวนการแปรรูปและสกัดสมุนไพรจน เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก เยอรมันจัดเป็นประเทศที่นำเอาสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบเพื่อการรักษาและบำบัด โรคพื้นฐานถึงร้อยละ 40 ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสจัดเป็นประเทศที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และอาหารเสริมโดยมีส่วนประกอบของสมุนไพรมายาวนานและหลากหลายที่สุด
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป วันอังคารที่ ๑๒ เมษายน
ขอบคุณที่มา http://www.newswit.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น